฿4,500.00
Golden Temple ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงครูบุญยง เกตุคง ศิลปิน ครู และนักประพันธ์ดนตรีไทยที่มีความสำคัญต่อดนตรีไทยเดิม ชื่อเพลงนี้มุ่งเน้นการสะท้อนถึงลักษณะร่วมกันของสถานที่ทางศาสนาทั้งในโลกความจริงและโลกในจินตนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก สีทองมักถูกเชื่อมโยงกับความศักดิ์สิทธิ์และความอุดมสมบูรณ์ วัดและเจดีย์หลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก มักจะมีสีทองเป็นลักษณะที่โดดเด่น หนึ่งในผลงานประพันธ์ของครูบุญยง เพลง ชเวดากอง ได้รับการตั้งชื่อตามเจดีย์ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ซึ่งสามารถแปลตรงตัวได้ว่า “เจดีย์ทองคำ” เพลงชเวดากองนี้ได้นำเอาสำเนียงดนตรีของเมียนมามาใช้ ถ่ายทอดความรู้สึกเปี่ยมด้วยความสุขและพลังแห่งการเฉลิมฉลอง Golden Temple ได้นำเอาสำเนียงดนตรีของเมียนมาในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาใช้ เช่น การเล่นจังหวะยก(syncopated rhythms) และทำนองที่สดใสในโหมดต่างๆ ผู้ประพันธ์ได้นำเสี้ยวเศษทำนองเพลงชเวดากองมาจินตนาการใหม่ในบริบทที่แตกต่างกัน บทประพันธ์นี้เล่นกับภาพหลังทางวัฒนธรรมที่ติดอยู่ในทำยองเพลงและรูปแบบจังหวะ พร้อมทั้งสำรวจและเฉลิมฉลองการผสมผสานระหว่างภาษาดนตรีแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่
ชนิดวง (Ensemble Type) | Full Wind Ensemble / Full Band (วงดุริยางค์เครื่องลมขนาดใหญ่) |
---|---|
Grade | |
ความยาว (Duration) | |
สไตล์เพลง (Style) | Contemporary Music / New Music (ดนตรีร่วมสมัย / ดนตรีสมัยใหม่), Festival (ดนตรีเทศกาล) |
* Bass drum, Crash cymbals, Chinese cymbals, Hi-hat, Suspended cymbals, 5 Temple blocks, 4 Tom-toms, Triangle, Snare Drum, Xylophone
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์