฿0.00
เกิดจากตัวของผู้ประพันธ์ได้ฟังเพลงเขมรพวง แล้วได้แต่คิดว่าจะทำมาในรูปแบบไหน ไม่ว่าจะไปที่ไหนทำนองหลักของเพลงยังคงเล่นอยู่ในหัว ผู้ประพันธ์จึงได้ตีความมันออกมาจากเหตุการณ์ที่ได้เป็นอยู่ ซึ่งภายในเพลงจะเป็นการบรรยายความคิดความรู้สึก สภาพแวดล้อมของตัวผู้ประพันธ์เอง โดยได้ทำในแนวคิดของดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 และมีการนำ รูปแบบ Ambient sound มาประยุกต์ใช้ในเพลงนี้ด้วยครับ ซึ่งมี 5 บรรยากาศ ได้แก่ – 1. ช่วงที่ได้เปิดฟังเพลง – 2.ช่วงที่ได้เดินออกมาตามข้างทาง – 3.ช่วงที่ได้เดินที่ตลาด – 4.ช่วงที่ได้กลับมาที่ห้องฟังเพลงต่อ – 5. ช่วงที่ได้พักผ่อน “ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร เวลาใด เราก็ยังมีดนตรีไทยอยู่ในใจลึก ๆ กันทุกคน” แล้วก็ถ้าทุกคนสังเกตุจะได้ยินว่ามีเพลงเขมรพวงอยู่ตลอด ทั้งเพลง เพราะที่ผมจะสื่อคือตัวผมเองคิดเพลงนี้ไว้อยู่ในใจตรงจุดนี้ผมเปิดโอกาสให้ทุกคนตีความในแบบของตัวเอง ว่าจะโฟกัสอะไร ถ้าโฟกัสที่ Ambient ก็จะได้ยินแต่เสียงรอบตัวความวุ่นวาย แต่ถ้าโฟกัสที่เพลงเขมรพวง คุณก็จะได้ยินเขมรพวง ความสงบ เพลงมันจึงได้ชื่อว่า ความโกลาหลและความสงบครับ ซึ่งมันอยู่ที่ตัวเราว่าจะอยู่กับความโกลาหลหรือความสงบ
“เพลงเขมรพวง เถา.” 2025. Blogspot.com. March 6, 2025. https://praptat.blogspot.com/2008/09/blog-post_8524.html.
ชนิดวง (Ensemble Type) | Chamber Ensemble / Small Wind Ensemble / Small Band (วงขนาดเล็ก) |
---|---|
ชนิดวงเล็ก (Chamber Type) | |
Grade | |
ความยาว (Duration) | |
สไตล์เพลง (Style) | Contemporary Music / New Music (ดนตรีร่วมสมัย / ดนตรีสมัยใหม่) |
ไม่มีค่าใช้จ่าย (Free Music) |
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์